ตัวแทนจำหน่าย vs เจ้าของแบรนด์ อะไรเวิร์กกว่ากัน

ตัวแทนจำหน่าย vs เจ้าของแบรนด์ อะไรเวิร์กกว่ากัน

ตัวแทนจำหน่าย vs เจ้าของแบรนด์ การเข้ามาเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมความงามนั้น ผู้ที่เดินเข้ามาอย่างมั่นใจมักจะหยุดชะงักลงตรงทางสองแพร่งนี้เสมอ นั่นคือจะเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ของผู้อื่น หรือ ปลุกปั้นสร้างแบรนด์ที่ตัวเองเป็นเจ้าของขึ้นมา คิดหนักใช่ไหมล่ะ แต่ไม่เป็นไร เพราะเราได้เตรียมปัจจัยต่างๆ ที่คุณต้องคำนึงเมื่อคิดจะย่างก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจครีม อาหารเสริม และเครื่องสำอาง ซึ่งเมื่อคุณอ่านจบ คุณจะสามารถตัดสินใจได้ในทันทีว่าจะเลือกเส้นทางใด ระหว่างตัวแทนจำหน่าย กับเจ้าของแบรนด์ หากพร้อมแล้ว มาดูกันเลย

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านต่อเลย โรงงานรับผลิตอาหารเสริม เลือกอย่างไร ให้คุณภาพตรงใจ

ตัวแทนจำหน่าย

1.อำนาจในการบริหารสินค้า

สิ่งหนึ่งที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างสถานะตัวแทนจำหน่ายกับเจ้าของแบรนด์ นั่นคือ อำนาจในการบริหารควบคุมทิศทางของสินค้า ตัวแทนจำหน่ายมักจะต้องปฏิบัติตามนโยบายของเจ้าของแบรนด์ ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ ที่ต้องให้ความสำคัญ มิฉะนั้น ก็อาจสูญเสียสถานะตัวแทนจำหน่ายได้ แต่การเป็นตัวแทนจำหน่ายก็มีข้อดีที่เห็นได้ชัด คือคุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลากับการบริหารแบรนด์มากนัก หน้าที่ของคุณมีเพียงแค่การหาลูกค้าและขายสินค้าให้ได้มากที่สุด ยิ่งคุณขายได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งได้ส่วนแบ่งกำไรมากขึ้นเท่านั้น

ในทางกลับกัน เจ้าของแบรนด์มีอำนาจสูงสุดในการบริหารผลิตภัณฑ์สูงสุด สามารถวางแผน กำหนดสัดส่วนของสินค้าที่ปล่อยลงสู่ตลาด ตลอดจนการเลือกช่องทางการขายที่เหมาะสมในช่วงเวลาต่างๆ หน้าที่ของเจ้าของแบรนด์แม้ว่าจะดูเหมือนว่าเป็น CEO ที่มองภาพกว้าง ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าของแบรนด์ต้องเข้ามากำกับดูแลกระบวนการผลิต และจำหน่ายสินค้าในทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างหนักเอาการ แต่รางวัลของการทำงานหนัก หากแบรนด์ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี ก็เท่ากับว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากน้ำพักน้ำแรงไปเต็มๆ เลยนั่นเอง

2.การมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต

สิ่งหนึ่งที่เจ้าของแบรนด์มีเหนือตัวแทนจำหน่ายอย่างชัดเจน คือ บทบาทการมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตสินค้า เนื่องจากเจ้าของแบรนด์เป็นผู้ที่ต้องติดหาเลือกสรรบริษัทหรือโรงงานผลิตครีม เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริมโดยตรง ตลอดจนมีบทบาทในการเลือกสูตร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และกรรมวิธีในการผลิต กระทั่งสินค้าปล่อยออกสู่ท้องตลาดในท้ายที่สุด กล่าวได้ว่าเจ้าของแบรนด์ผู้ซึ่งอยู่กับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่มจากศูนย์ย่อมเป็นผู้ที่รู้จักสินค้าของตนเองดีที่สุด สิ่งนี้คือจุดแข็งสำคัญของการสร้างแบรนด์ เพราะความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ตลอดจนเครือข่ายที่เจ้าของแบรนด์สร้างขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตจะเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยให้เจ้าของแบรนด์สามารถนำไปต่อยอดได้ตลอดทั้งชีวิต โดยไม่จำกัดเพียงแค่ธุรกิจเครื่องสำอางเพียงอย่างเดียว ขณะที่หากเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายอาจจะได้ทักษะในการขายสินค้าให้ประสบความสำเร็จ แต่ก็จะพลาดโอกาสในการเรียนรู้ทักษะของการเป็นผู้ประกอบการไป การเป็น CEO ในแบรนด์ของตนเองกับลูกจ้างในแบรนด์คนอื่นนั้นต่างกันมากทีเดียว

เจ้าของแบรนด์

3.ความน่าเชื่อถือ

การเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับสินค้าใดหนึ่ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทครีม เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริมนั้น คุณจำเป็นจะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแบรนด์ให้ดีว่าได้ผ่านการรับรองโดย อย.หรือสินค้าผ่านมาตรฐานสากลหรือไม่ เพราะมีหลายกรณีที่บางแบรนด์มีกรรมวิธีผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หลอกลวงผู้บริโภค แม้ว่าจะสามารถสร้างรายได้เป็นร้อยล้าน แต่ในท้ายที่สุดก็ถูกจับกุมและต้องปิดแบรนด์ลง ฉะนั้น การเป็นตัวแทนจำหน่ายจึงมีความเสี่ยงตรงจุดนี้ที่คุณต้องพิจารณาให้ดี ก่อนจะสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายของสินค้าชนิดใด ในขณะที่ เจ้าของแบรนด์สามารถที่จะตัดสินใจเลือกโรงงานผลิตสินค้า และสูตรต่างๆ ได้ด้วยตนเองทุกประการ ทำให้ล่วงรู้ถึงขั้นตอนต่างๆ ว่าปลอดภัยและช่วยให้สินค้าออกมามีคุณภาพหรือไม่ จุดเด่นตรงนี้ทำให้การเลือกเป็นเจ้าของแบรนด์ตนเองจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าสินค้าของตัวเองจะไม่เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายอย่างแน่นอน

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านต่อเลย ขายครีมออนไลน์ 5 วิธีเพิ่มยอดขายอย่างก้าวกระโดด

4.ผลิตภัณฑ์ในแบบตัวเอง

ภารกิจหลักของตัวแทนจำหน่ายคือการขายสินค้าของแบรนด์ที่ได้รับมาให้ได้มากที่สุด ขณะที่เจ้าของแบรนด์ การสร้างผลิตภัณฑ์ใดขึ้นมานั้นคือการใส่ตัวตน ความเป็นตัวเองลงไปผลงานเหล่านั้น ทำให้คุณได้แบรนด์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของตนเองออกมาอย่างเต็มที่ แบรนด์เปรียบได้ดั่งลูกที่คุณชุบเลี้ยงขึ้นมาอย่างตั้งใจ ฉะนั้น จึงขึ้นอยู่ว่าคุณคนเดียวต้องการให้แบรนด์เดินหน้าไปในทิศทางใด คุณอาจจะพอใจกับการเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ (niche market) หรือตั้งเป้าหมายจะพาแบรนด์ก้าวไกลไปในระดับอาเซียน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และกำลังของคุณเพียงอย่างเดียว นี่คืออิสระที่เจ้าของแบรนด์ทุกคนพึงมี และหาไม่ได้หากคุณเป็นเพียงตัวแทนจำหน่าย

ตัวแทนจำหน่าย vs เจ้าของแบรนด์ อะไรเวิร์กกว่ากัน

5.กรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ

‘เจ้าของแบรนด์’ เพียงเท่านี้ก็บ่งบอกได้แล้วว่ากรรมสิทธิ์ของแบรนด์คุณเป็นของใคร เมื่อคุณวางแผนการสร้างผลิตภัณฑ์ ได้สูตร และออกแบบบรรจุภัณฑ์จนเสร็จสิ้นแล้ว คุณก็สามารถยื่นของจดทะเบียนแบรนด์ของคุณได้ โดยอาจขอคำปรึกษาและการช่วยเหลือจากบริษัทหรือโรงงานที่คุณใช้บริการได้เช่นกัน ซึ่งเท่ากับว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณทุ่มเทแรงทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ลงไปนั้นจะเป็นของคุณแต่เพียงผู้เดียว หากคุณเลือกเส้นทางตัวแทนจำหน่าย คุณอาจจะได้รับส่วนแบ่งกำไร และไม่ต้องเหนื่อยกับภาระหน้าที่ของ CEO จริง แต่ในท้ายที่สุดแล้ว คุณก็อาจจะพบว่าตนเองว่าคุณไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มีอะไรที่เป็นของคุณนอกจากเงินที่ได้รับมา ซึ่งอาจจะใช้หมดไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบได้ การสร้างแบรนด์อาจใช้เวลาและความอดทนสูง แต่เชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง คุณก็จะพอใจและสามารถบอกต่อใครๆ ได้อย่างภาคภูมิใจได้ว่าคุณเป็นเจ้าของกิจการที่มีแบรนด์เป็นของตนเอง

สรุปตัวแทนจำหน่าย VS เจ้าของแบรนด์ อะไรจะเวิร์กกว่ากัน?

หากคุณอ่านมาถึงจุดนี้น่าจะพอทราบแล้วว่า ระหว่างตัวแทนจำหน่าย กับ เจ้าของแบรนด์ เส้นทางไหนที่จะเวิร์กกว่ากันในระยะยาว หากคุณมีความต้องการรีบใช้เงิน แน่นอนว่าการเป็นตัวแทนจำหน่ายย่อมตอบโจทย์ระยะสั้นของคุณได้มากกว่า แต่หากคุณฝันว่าในชีวิตนี้จะต้องมีกิจการอะไรเป็นของตนเองหรือทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่างในชีวิต การสร้างแบรนด์เป็นของตนเองย่อมเป็นคำตอบสุดท้าย เพราะการเป็นเจ้าของกิจการ แม้ว่าการเริ่มต้นจะเปี่ยมไปด้วยอุปสรรค ความยากลำบาก แต่เมื่อผ่านพ้นไปได้ สินค้าเริ่มติดตลาด เริ่มมีฐานลูกค้าเป็นของตนเอง การมีแบรนด์เป็นของตนเองจะช่วยสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้กับคุณได้อย่างแน่นอน

Last Updated on by

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save